โบรกเกอร์ Forex ข้อแนะนำวิธีการเลือกใช้โบรกเกอร์สำหรับเทรด Forex
โบรกเกอร์ Forex ในปัจจุบันนี้มีจำนวนค่อนข้างเยอะและทั้งหมดก็เป็นบริษัทที่ตั้งอยู่นอก ประเทศไทย เนื่องจากในประเทศไทยยังไม่สามารถเปิด โบรกเกอร์ ได้ จึงทำให้การเลือกโบรกเกอร์สำหรับลงทุนเทรด Forex เป็นเรื่องที่ค่อนข้างลำบาก เพราะคุณไม่มีทางรู้ว่าโบรกเกอร์ที่คุณเลือกใช้งานอยู่นั้น หรือกำลังตัดสินใจว่าจะเปิดบัญชีลงทุนด้วย เป็นโบรกเกอร์แบบไหน มีความมั่นคงหรือไม่
ประเภทของโบรกเกอร์ Forex (ฺForex Broker Type)
การเลือก โบรกเกอร์ ฟอเร็กซ์ สิ่งแรกที่ต้องทำคือ ถามตัวคุณเองว่าต้องการแบบไหน และโบรกเกอร์ไหนให้สิ่งที่คุณต้องการได้ ในตลาด Forex จะมีโบรกเกอร์อยู่ 2 ประเภทคือ Dealing Desk (DD) หรือเรียกอีกอย่างมา Market Maker และ No Dealing Desk (NDD) สามารถแบ่งย่อยออกมาได้อีกคือ Straight Through Processing (STP) , Electronic Communication Network + Straight Through Processing (ECN+STP) ดังรูปด้านล่าง
Dealing Desk (DD) คืออะไร
Market Maker Broker หรือ Dealing Desk (DD) คือโบรกเกอร์ที่ดำเนินการซื้อขายแบบไม่มีการส่งคำสั่งซื้อขายเข้าสู่ตลาดกลาง แต่จะใช้สัญญาณราคาอ้างอิงการซื้อขายตามตลาดกลาง โดยจะใช้วิธีแมทช์คำสั่งซื้อขายกันเองของลูกค้าที่อยู่ในโบรกเกอร์เดียวกัน เช่น มีการส่งคำสั่ง Buy ค่าเงิน EUR/USD 500,000 หน่วย กับโบรกเกอร์ Dealing Desk โบรกเกอร์ จะพยายามแมทช์กับออเดอร์ Sell กับลูกค้าคนอื่นก่อน จากนั้นส่วนที่เกินจะถูกส่งต่อไปยังผู้ให้สภาพคล่องในตลาดต่อไป แต่ถ้าออเดอร์เต็มไม่สามารถแมทช์ได้
โบรกเกอร์ Dealing Desk จะต้องยอมรับออเดอร์จากลูกค้าส่วนที่เกินมาเอง ปกติโบรกเกอร์ประเภท Dealing Desk จะ ได้กำไรจากสเปรดของลูกค้าทั้งสองฝั่งทั้งฝั่ง Buy และ Sell ทำให้โบรกเกอร์ประเภทนี้สเปรดค่อนข้างต่ำ แต่การปิดเปิดคำสั่งจะช้า ยิ่งถ้าเป็นช่วงประกาศข่าวสำคัญ จะพบว่าไม่สามารถส่งคำสั่งซื้อขายได้เพราะไม่สามารถแมทช์การซื้อขายได้นั่น เอง อย่างที่บอกไปข้างต้นแม้โบรกเกอร์แบบ Dealing Desk จะไม่ได้ส่งการซื้อขายเข้าตลาดกลาง แต่ราคาก็จะตรงกับตลาดกลางเสมอ
No Dealing Desk Broker (NDD) คืออะไร
No Dealing Desk คือโบรกเกอร์ที่ทำหน้าที่เหมือนสะพานจะคำสั่งซื้อขายเข้าสู่ตลาดกลางโดยตรง โบรกเกอร์ประเภทนี้จะไม่รับออเดอร์เทรดของลูกค้า กำไรของพวกเขาจะมาจากค่าคอมมิชชั่นและสเปรดซึ่งเพิ่มขึ้นมานิดหน่อย No Dealing Desk Broker สามารถเป็นได้ทั้ง STP หรือ STP+ECN
STP Broker คืออะไร ?
โบรกเกอร์ STP เพื่อให้ออเดอร์ของลูกค้าถูกส่งเข้าตลาดกลางได้ พวกเขาจะต้องมีผู้ให้สภาพคล่องหลายหน่วยงาน โดยแต่ละที่ก็จะเสนอราคา Bid และ Ask ของเขามาเอง
การเปลี่ยน Bid/Ask ไปมาแบบนี้เพื่อให้ได้ราคาที่ดีที่สุด จึงเป็นเหตุผลให้ Broker STP ส่วนใหญ่มี Spread เคลื่อนไหวตลอดเวลา เพราะจะขึ้นอยู่กับราคาที่เสนอมาของผู้ให้สภาพคล่อง ซึ่งทางโบรกเกอร์ไม่มีทางเลือก แต่บางโบรกเกอร์ก็มีบัญชีที่เป็นแบบ Fixed Spread เหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นแบบสเปรดไม่คงที่หรือลอยตัว